TSB Pipe แหล่งรวมท่อและอุปกรณ์ สำหรับงานประปา ครบวงจร

ท่อและอุปกรณ์ประปา HDPE / LDPE

ท่อและอุปกรณ์ HDPE / LDPE สำหรับงานประปา

 

ท่อ HDPE คืออะไร

ท่อโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE : High Density Polyehtylene Pipe) หรือที่นิยมเรียกเรียกกันสั้น ๆ ว่า ท่อพีอี (PE pipe) ผลิตจากวัสดุพลาสติกเชิงวิศวกรรม ที่ให้คุณสมบัติที่ดีเยี่ยมในทางฟิสิกส์และเคมี  (Physical and Chemical  properties) ตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO : TR 9080 ,ASTM-D 1248 จากการที่ท่อพีอีมีประสิทธิ์ภาพสูงทั้งทางด้านฟิสิกส์และเคมี และได้รับมาตรฐาน ISO ทำให้ท่อชนิดนี้ ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในระดับสากล เหมาะสมสำหรับงานระบบ ในด้านงานประปา  ท่อพีอี ถูกใช้สำหรับงานท่อแรงดันน้ำสูงและแรงดันน้ำต่ำ ท่อแบบท่อน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั่งแต่ 20 -12,000 มิลลิเมตร ท่อพีอีมีความยาวให้เลือกใช้ตั่งแต่ความยาวท่อนมาตรฐาน 6 และ 12 เมตร สำหรับท่อแบบม้วน มีความยาวตั้งแต่ 50-100 เมตร สำหรับท่อขนาด 20-110 มิลลิเมตร (1/2 – 4 นิ้ว) 

ท่อ HDPE ทำมาจากอะไร

ท่อ HDPE ผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง ชนิด HDPE  (HDPE : High Density Polyehtylene Pipe) แล้วนำไปผ่านกระบวนการฉีดขึ้นรูป เป็นตัวท่อขึ้นมา

ทำไม่ต้องเลือกใช้ท่อ HDPE

ท่อ HDPE ติดตั้งได้อย่างไร

ท่อ HDPE ติดตั้งได้โดยการเชื่อมชม (Butt Fusion) ดูวิธีการได้จาก การเชื่อมชนท่อ (Butt Fusion) แต่การเชื่อมท่อเข้ากับข้อต่อ ทำได้ 2 แบบ ดังนี้
1. การเชื่อมชน (Butt Fusion ) เป็นการเชื่อมปลายท่อเข้ากับปลายข้อต่อโดยใช้ความร้อนหลอมละลายวัสดุเข้าด้วยกัน
2. การเชื่อมสอด (Electro Fusion) เป็นการสอดปลายท่อเข้ากับข้อต่อ E.F. แล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าหลอมละลายวัสดุเข้าด้วยกัน

อุปกรณ์ข้อต่อ HDPE

การเชื่อมต่อท่อ HDPE เข้าด้วยกันนั้น จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ข้อต่อเป็นตัวกลาง ในการเชื่อมประสานท่อเข้าด้วยกัน โดยอุปกรณ์ข้อต่อที่ใช้ในการเชื่อมเข้ากับท่อนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ดังนี้

อุปกรณ์ข้อต่อ HDPE แบบเชื่อมชน (Butt Fusion Fitting)
คือการนำปลายท่อ และปลายข้อต่อ มาเชื่อมเข้าหากันโดยใช้ความร้อนเป็นตัวกลางให้เกิดการหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกันตรงรอยเชื่อม โดยวิธีนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องเชื่อมชม (Butt fusion welding machine) เป็นตัวกลางในการเชื่อม แต่รอยต่อที่ได้จากวิธีนี้ จะมีความคงทนแข็งแรงสูง เพราะเป็นการหลอมละลายวัสดุเป็นเนื้อเดียวกันตรงชุดเชื่อม

ข้อดี
– รอยเชื่อมมีความแข็งแรงสูง
– ใช้ได้กับท่อ HDPE ที่มีขนาดตั้งแต่ 75 – 2000 mm.

ข้อเสีย
– จำเป็นต้องใช้เครื่องเชื่อมชนในการต่อเข้าด้วยกัน
– ต้องมีพื้นที่ในการติดตั้ง

อุปกรณ์ข้อต่อ HDPE แบบสวมอัด (Compression Fitting)

เป็นอุปกรณ์สำหรับประกอบท่อ HDPE เข้าด้วยกัน โดยใช้อุปกรณ์ข้อต่อสวมอัดเป็นตัวกลางในการยึดท่อ ซึ่งอุปกรณ์ประเภทนี้จะมีความสะดวก และใช้งานได้ง่ายกว่าแบบเชื่อมชน เพราะเพียงแค่นำท่อสวมเข้ากับอุปกรณ์ขอ้ต่อแบบสวมอัด แล้วหมุนเกลียวให้แน่น เท่านี้ก็สามารถใช้งานได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องทากาวหรือใช้เทปพันเกลียวอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถทนแรงดันน้ำได้ถึง 10 บาร์

ข้อดี
– สะดวก ติดตั้งง่าย ใช้พื้นที่น้อย

ข้อเสีย
– ใช้ได้เฉพาะกับท่อขนาดเล็กตั้งแต่  20-110 mm.
– อาจมีการรั่วได้ กรณีที่หมุนเกลียวไม่แน่น หรือใช้กับความดันที่สูงกว่าที่กำหนดไว้

ท่อประปา HDPE (TAP)

ท่อประปา HDPE (WIIK)

ท่อประปา LDPE (TAP)

ท่อประปา Q1 และอุปกรณ์

ท่อระบายน้ำใต้ดิน (TAP-KORR)

อุปกรณ์ HDPE แบบเชื่อม (TAP)

อุปกรณ์ HDPE แบบสวมอัด (TON-D)

อุปกรณ์เสริมสำหรับติดตั้งท่อ PE (แขวนท่อ)

ในการติดตั้งท่อในงานระบบ ความคงทนแข็งแรงนั้นจะมาได้จากหลายส่วนประกอบ ท่อและข้อต่อส่วนหนึ่ง อุปกรณ์สำหรับยึดจับท่อก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความจำเป็นในการติดตั้งทั้งในระบบไฟฟ้า ประปา และระบบสัญญาณ

ซึ่งอุปกรณ์เสริมเหล่านี้ มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ได้แก่
1. ADJUSTABLE SPLIT RING HANGER
2. ADJUST CLEVIS HANGER
3. U-BOLT
4. THREADED ROD
5. ROD COUPLING
6. C-CHANNEL
7. C-CHANEL CLAMP
8. U-CLAMP